เมนู

ก็โดยสมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าสุเนตตะ อาศัยพระนคร
อยู่ในบรรณศาลา. บุรุษนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ผู้เข้าไปเพื่อ
บิณฑบาต ยืนอยู่ที่ระหว่างประตูพระนคร จึงคิดว่า " พระปัจเจกพุทธ-
เจ้านี้ เป็นผู้ไม่มีมารดาบิดา, เมื่อเราดีดผู้นี้ ไม่ต้องมีสินไหม, เราจัก
ดีดพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ทดลองศิลปะ " ดังนี้แล้ว จึงดีดก้อนกรวดไป
หมายช่องหูเบื้องขวาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. ก้อนกรวดเข้าไปโดยช่องหู
เบื้องขวา ทะลุออกโดยช่องหูเบื้องซ้าย. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว. พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจจะเที่ยวไปเพื่อภิกษาได้. จึงไปสู่บรรณศาลาโดย
อากาศ ปรินิพพานแล้ว. พวกมนุษย์เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มา
คิดว่า " ความไม่ผาสุกอะไร ๆ จักมี " จึงไปที่บรรณศาลานั้น เห็นท่านปริ-
นิพพานแล้วร้องไห้คร่ำครวญแล้ว. แม้บุรุษนั้น เห็นมหาชนไปอยู่ ไป
ที่บรรณศาลานั้นแล้ว จำพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ จึงกล่าวว่า " พระปัจเจก-
พุทธเจ้าองค์นี้ เมื่อเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พบเราที่ระหว่างประตู. เรา
เมื่อจะทดลองศิลปะของตน จึงประหารพระปัจเจกพุทธเจ้านี้. " พวกมนุษย์
กล่าวว่า " ได้ยินว่า คนชั่วนี้ ประหารพระปัจเจกพุทธเจ้า. พวกท่าน
จงจับ ๆ " โบยให้บุรุษนั้นถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. บุรุษนั้น เกิด
ในอเวจีไหม้แล้ว จนแผ่นดินใหญ่นี้หนาขึ้นโยชน์หนึ่ง บังเกิดเป็นสัฏฐิ-
กูฏเปรต ที่ยอดภูเขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมอันเหลือ.

พระศาสดาตรัสสอนพวกภิกษุ


พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
" ภิกษุทั้งหลาย ศิลปะหรือความเป็นอิสระ เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ชื่อว่าคนพาล

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความฉิบหาย, ด้วยว่า คนพาลได้ศิลปะหรือความเป็น
อิสระแล้ว ย่อมทำความฉิบหายแก่ตนถ่ายเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง
สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
13. ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ.
"ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาล เพียงเพื่อความ
ฉิบหายเท่านั้น, ตามรู้นั้น ยังหัวคิดของเขาให้
ตกไป ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย."

แก้อรรถ


ศัพท์ว่า ยาวเทว ในคาถานั้นเป็นนิบาต ในอรรถคือความ
กำหนดซึ่งแดน. ภาวะคือความรู้ ชื่อว่า ญตฺตํ. บุคคลย่อมรู้ศิลปะ
แม้ใด, หรือบุคคลดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ใด หรือด้วยความถึงพร้อม
ด้วยยศใด อันชนย่อมรู้จัก คือปรากฏ ได้แก่เป็นผู้โด่งดัง, คำว่า ญตฺตํ
นี้ เป็นชื่อแห่งศิลปะ ความเป็นใหญ่และความถึงพร้อมด้วยยศนั้น. แท้
จริง ศิลปะหรือความเป็นใหญ่เป็นต้น ย่อมเกิดแก่คนพาล เพื่อความ
ฉิบหายถ่ายเดียว คือคนพาลนั้น อาศัยศิลปะเป็นต้นนั้น ย่อมทำความ
ฉิบหายแก่คนอย่างเดียว. บทว่า หนฺติ ได้แก่ ให้พินาศ. บทว่า
สุกฺกํสํ คือส่วนแห่งกุศล. อธิบายว่า ก็ศิลปะหรือความเป็นใหญ่ เมื่อ
เกิดขึ้นแก่คนพาล ย่อมเกิดขึ้นฆ่าส่วนอันเป็นกุศลอย่างเดียว. บทว่า มุทฺธํ
นี้ เป็นชื่อว่าของปัญญา. บทว่า วิปาตยํ คือกำจัดอยู่ อธิบายว่า
ก็ความรู้นั้น ฆ่าส่วนกุศลของคนพาลนั้น ยังมุทธา กล่าวคือปัญญา